วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เส้นทางสายไหม, Silk Road
เส้นทางสายไหม ( Silk Road ) เป็นเส้นทางโบราณที่ใช้เดินทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจีนกับทวีปยุโรป เส้นทางสายไหมเกิดขึ้นมาร่วมหลายพันปีแล้วเป็นเส้นทางการค้าที่มีโครงข่ายโยงใยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติก่อกำเนิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ในสมัยราชวงศ์ฮั่น(206 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ.220) ในรัชสมัยของฮั่นอู่ตี้ แต่เราอาจเพิ่งมาคุ้นหูมากขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อนตอนที่ทางสถานีโทรทัศน์NHK ของญี่ปุ่นที่ถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับการเดินทางตามแนวเส้นทางสายไหมในสมัยโบราณ ทำให้เราได้รู้จักความเป็นไปเป็นมาของเส้นทางสายไหมมากขึ้น เส้นทางสายไหมเป็น ช่องทางสำคัญที่กระจายอารยธรรมโบราณของจีนไปสู่ตะวันตก และเป็นสะพานเชื่อมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตกด้วย เส้นทางสายนี้มีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชาวเอเซียเป็นอย่างมาก
คำว่าเส้นทางสายไหม ( Silk Road ) เกิดขึ้นได้อย่างไร
คำว่า "เส้นทางสายไหม" หรือ "Silk Road" เพิ่งถูกเรียกอย่างเป็นทางการในกลางศตวรรษที่ 19 โดยนักปราชญ์ชาวเยอรมันชื่อว่า Baron Ferdinand von Richthofen เขาเป็นผู้บัญญัติชื่อนี้ขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับถึงแม้จะมีคนพยายามเรียกเป็นอย่างอื่นอย่างเส้นทางหยก เส้นทาอัญมณี เส้นทางพุทธศาสนา เป็นต้น เส้นทางนี้เริ่มจากทางตะวันออกที่เมืองฉางอันหรือซีอันในปัจจุบันของประเทศจีนไปสิ้นสุดที่ยุโรป ณ เมืองคอนสแตนติโนเปิล(Constantinople) สินค้าที่มีชื่อเสียง คือ ผ้าไหมจีน, แก้ว, เพชรพลอย, เครื่องเคลือบดินเผา, พรม เป็นต้น แต่เส้นทางนี้ก็ได้ถูกเลิกใช้ไปเพราะเกิดสงครามเส้นทางสายไหมคือเส้นทางจากที่ใดไปที่ใดเส้นทางสายไหมที่ผู้คนกล่าวถึงบ่อยๆ นั้น หมายถึง เส้นทางบกที่จางเชียนในสมัยซีฮั่นของจีนสร้างขึ้นเส้นทางนี้เริ่มจากทางตะวันออกที่เมืองฉางอันหรือซีอันในปัจจุบันของประเทศจีนไปสิ้นสุดที่ทางทิศตะวันตกของกรุงโรมระยะทางทั้งหมดถึง 7,000 กิโลเมตร และ เส้นทางกว่า 5,000 กิโลเมตร ในจำนวนดังกล่าวนั้นอยู่ในดินแดนของประเทศจีน ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าเส้นทางสายไหมเส้นทางหลักๆ นั้นจะอยู่ในประเทศจีน
เส้นทางบกสายนี้มีเส้นทางแยกสาขาเป็นสองสายไปทางทิศใต้และทางทิศเหนือของจีนและจากเมือหลักของแต่ละเส้นทางจะมีเส้นทางแยกย่อยออกไปเหมือนเครือข่ายใยแมงมุมซึ่งมีการแปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, วัฒนธรรมในแต่ละยุคเส้นทางทิศใต้จากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกทางด่านหยางกวนผ่านภูเขาคุนหลุนและเทือกเขาชงหลิ่นไปถึงต้าเย่ซื่อ( แถวซินเจียงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) อันซิ( อิหร่านในปัจจุบัน) เถียวซื่อ( คาบสมุทรอาหรับปัจจุบัน) ซี่งอยู่ทางตะวันตกไปถึงอาณาจักรโรมันส่วนเส้นทางทิศเหนือจากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกด่านอวี้เหมินกวนผ่านเทือกเขาด้านใต้ของภูเขาเทียนซานและเทือกเขาชงหลิ่นผ่านต้าหว่าน คางจวี( อยู่ในเขตเอเซียกลางของรัสเซีย) แล้วไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดท้ายรวมกันกับเส้นทางทิศใต้ เส้นทางสองสายนี้เรียกว่า“เส้นทางสายไหมทางบก”
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางสายไหมอีกสองสายซึ่งน้อยคนจะทราบ สายหนึ่ง คือ “เส้นทางสายไหมทิศตะวันตกเฉียงใต้” เริ่มจากมณฑลเสฉวนผ่านมณฑลยูนนานและแม่น้ำอิรวดีจนถึงจังหวัดหม่องกงในภาคเหนือของพม่า ผ่านแม่น้ำชินด์วินไปถึงมอพาร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย จากนั้นเลียบแม่น้ำคงคาไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียไปถึงที่ราบสูงอิหร่าน เส้นทางสายไหม สายนี้มีประวัติยาวนานกว่าเส้นทางสายไหมทางบก เมื่อปี1986 นักโบราณคดีได้พบซากอารยธรรมซานซิงตุยที่เมืองกว่างฮั่นมณฑลเสฉวน ซึ่งห่างจากปัจจุบันประมาณสามพันกว่าปีได้ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเอเซียตะวันตกและกรีซ ในจำนวนนั้นมีไม้เท้าทองที่ยาว 142เซ็นติเมตร “ต้นไม้วิเศษ” ที่สูงประมาณสี่เมตรและรูปปั้นคนทองแดง หัวทองแดงและหน้ากากทองแดงเป็นต้นที่มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กต่าง ๆกัน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้อาจจะถูกนำเข้ามาในการแลกเปลี่ยนทาง วัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ถ้าความคิดเห็นประการนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เส้นทางสายไหม สายนี้ก็มีอยู่แล้วตั้งแต่กว่าสามพันปีก่อนเส้นทางสายไหม อีกสายหนึ่ง คือ นั่งเรือจากนครกวางเจาผ่านช่องแคบหม่านล่าเจีย ( ช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน) ไปถึงลังกา ( ศรีลังกาในปัจจุบัน) อินเดียและอัฟริกาตะวันออก เส้นทางนี้ได้ชื่อว่า“เส้นทางสายไหม ทางทะเล” วัตถุโบราณจากโซมาลีที่อัฟริกาตะวันออกยืนยันว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล” สายนี้ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีน เส้นทางสายไหม ทางทะเล ได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก” เอกสารด้านประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยนั้นมาร์โคโปโลก็ได้เดินทางมาถึงจีนโดยผ่าน “เส้นทางสายไหมทาง ทะเล” ตอนกลับประเทศ เขาได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยผ่านเส้นทางสายนี้เหมือนกันการเปิดใช้เส้นทางสายไหมไม่ เพียงแต่ทำให้เขตซินเจียงที่มีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล มีทางเชื่อมติดต่อกับเขตแดนชั้นในของจีนเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกทางหนึ่ง ในการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างเขตแดนชั้นในของจีนกับซินเจียง โดยเฉพาะกับเอเซียกลางและเอเซียตะวันตกด้วย ดังนั้น จึงมีการค้นพบโบราณวัตถุมีคุณค่าจำนวนมากปรากฏตามเส้นทางสายไหมนี้ เช่น เมืองโบราณ สุสานในสมัยโบราณ กำแพงเมืองจีนเก่าแก่ วัดวาอารามและถ้ำผา เป็นต้น ดังนั้นเส้นทางสายไหมจึงได้แสดงบทบาทอันสำคัญยิ่งในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ เส้นทางสายไหมจึงเป็นแหล่งขุมทรัพย์ความรู้ทางโบราณคดีที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนในยุคหลัง
ปัจจุบันเส้นทางสายไหมแห่งนี้นอกจากจะเป็นแหล่งความรู้ทางโบราณคดีและมนุษยวิทยาแล้วยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจีนอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของเส้นทางสายไหม
ประวัติความเป็นมาของเส้นทางสายไหม
เส้นทางสายไหมเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น ในรัชสมัยของฮั่นอู่ตี้ ในสมัยนั้นอาณาจักรฮั่นถูกพวกชนเผ่าเร่ร่อนที่มีชื่อว่า"ซงนู๋" รุกรานอยู่บ่อย ๆฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้จึงส่งขุนนางผู้มีชื่อว่า"จางเชียน" ไปเจริญสัมพันธ์กับแคว้นต่างๆทางตะวันตกเพื่อชักชวนให้แคว้นเหล่านั้นหันมาเป็นพันธมิตรต่อต้านการรุกรานของพวกซงนู๋ด้วยกัน แต่ระหว่างเดินทางนั้น จางเชียนถูกพวกซงนู๋จับตัวและถูกกักขังไว้เป็นเวลาร่วมสิบปี แต่สุดท้ายจางเชียนก็สามารถหลบหนีออกมาได้ ซึ่งเขาก็ไม่ลืมภาระที่ได้รับมอบหมายและมุ่งหน้าสู่เอเชียกลาง แต่ขณะนั้นบรรดาแคว้นต่างๆ ล้วนพอใจกับสถานะที่เป็นอยู่ไม่มีใครยอมร่วมเป็นพันธมิตร เท่ากับว่าจางเชียนคว้าน้ำเหลวอย่างสิ้นเชิงในภารกิจที่ได้รับมอบหมายแต่เขา ก็สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส จางเชียนจดบันทึกข้อมูลทั้งหลายตลอดเส้นทางเกี่ยวกับทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิตการค้าการขายต่าง ๆ ถวายแด่ฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้ เพื่อแปลงสนามรบเป็นสนามการค้า
หลังจากนั้นอาณาจักรฮั่นก็ส่งสินค้าไปค้าขายกับทางตะวันตกสินค้าที่ขึ้นชื่อในยุคนั้น คือ ผ้าไหม ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของพวกชาวเปอร์เซียและโรมัน แต่การค้าผ้าไหมในยุคของฮั่นอู่ตี้ก็ไม่ได้ทำกำไรอะไรมากมายนักจนเมื่อพวกชาวโรมันเกิดพิสมัยผ้าไหมอย่างมาก( สังเกตได้จากรูปปั้นผู้หญิงของโรมันจะนุ่งผ้าไหมที่พลิ้วสวย) ถึงกับนำเอาทองคำมาแลกกับผ้าไหมเลยทีเดียว ดังนั้นในเวลาต่อมาการค้าบนเส้นทางสายไหมนี้จึงประกอบด้วยผ้าไหมถึง 30 เปอร์เซ็นเลยทีเดียวเส้นทางสายไหมโบราณเส้นนี้รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด ในกลางศตวรรษที่8 แห่งคริสตกาล เส้นทางนี้เปรียบเสมือน ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศในยุคนั้นเลยทีเดียวการแลกเปลี่ยนข่าวสารวัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ เช่น เทคโนโลยีในการผลิตกระดาษ, ดินระเบิด, เข็มทิศ รวมถึงลูกคิดซึ่งกลายเป็นต้นแบบของการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีของจีนที่ถูกถ่ายทอดไปสู่ตะวันตก ในยุคนั้นผ่านทาง เส้นทางสายไหมขณะเดียวกันศาสนาพุทธจากอินเดียก็อาศัยเส้นทางสายไหมนี้เขาสู่เอเชีย ทั้งจีน เกาหลี พม่า ลาว เวียตนาม กัมพูชา และไทย เช่นเดียวกันชาวเปอร์เซียที่นำเอาศาสนาอิสลามเข้ามาตอนหลังเส้นทางทางบกถูกเลิกใช้ไปเพราะเกิดสงคราม เหล่าคาราวานจึงพยายามเลี่ยงเส้นทางนี้ เส้นทางทางบกจึงถึงจุดเสื่อมสลายในที่สุด เส้นทางการค้าทางทะเล กลับเพิ่มมากขึ้นแทน ชาวเปอร์เซียซึ่งมาทางเรือก็นำเอาศาสนาอิสลามสู่ประเทศต่างๆ ที่แวะผ่าน เช่น แหลมมาลายู อินโดนีเซียและบางส่วนของฟิลิปินส์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น