วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการรถไฟเเห่งประเทศไทย




         ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศทั้งหลายที่เจริญแล้วในโลกประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศทั้งหลายที่เจริญแล้วในโลกนับตั้งแต่สมัยตั้งกรุงสุโขทัยตลอดจนกรุงศรีอยุธยากรุงธนบุรีและกรุงสุโขทัยตลอดจนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ซึ่งทรงเป็นประมุขของประเทศได้ทรงเล็งเห็นความ สำคัญของการคมนาคมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำความรุ่งเรืองมาสู่ชาติเสมือน โลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่ และในบรรดาทางเดินของโลหิตสายนั้นการรถไฟคือทางเดินของโลหิตสำคัญสายหนึ่งซึ่งในราชอาณาจักรไทยสมัยก่อน ๆ ยังไม่เคยมีเค้ารูป และโครงการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะแสดงให้เป็นที่ปรากฏชัดว่าการคมนาคมทางบก ภายในประเทศจะมีการขนส่งโดยทางรถไฟของรัฐบาลเกิดขึ้นเลย เพราะในเวลานั้นประชาชนยังนิยมใช้สัตว์ เช่น โค กระบือ ม้า ช้างและเกวียนเป็นพาหนะเพื่อประโยชน์ในการเดินทางและในการลำเลียงสินค้าต่าง ๆ จากถิ่นหนึ่งไปยังอีกถิ่นหนึ่งจนกระทั่งการขนส่งโดยทางรถไฟได้เริ่มมีชีวิต จิตใจขึ้นจนสำเร็จเป็นรูปร่างอันสมบูรณ์ในรัชสมัย
" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ "
โดยมีประกาศ พระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยาม
ตั้งแต่ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา
ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433
          ก่อนที่การรถไฟหลวงจะถือ กำเนิดขึ้นนั้นปรากฏว่าในปีพุทธศักราช 2398 รัฐบาลสหราชอาณาจักรอังกฤษให้ เซอร์ จอห์น เบาริง (Ser John Bowring)  ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พร้อมด้วย มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค (Mr. Harry Smith Parkes) กงสุลเมืองเอ้หมึง เป็นอุปทูล เดินทางโดยเรือรบหลวงอังกฤษเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางราชไมตรีฉบับที่ รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ทำไว้กับรัฐบาลไทยเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2369 ซึ่งในกาลนั้น มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค ได้นำสนธิสัญญาฉบับใหม่ออกไปประทับตราแผ่นดินอังกฤษ แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนสนธิสัญญากับฝ่ายไทย กับอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษเข้า มาเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อาทิ รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริงประกอบด้วย รถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน เดินบนรางด้วยแรงไอน้ำทำนองเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษ(ขณะนี้ รถไฟเล็กได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) ราชบรรณาการในครั้งนั้นสมเด็จพระนางวิคตอเรีย ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เป็นเครื่องดลพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ให้ทรงคิดสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในราชอาณาจักรไทย แต่เนื่องจากในขณะนั้นภาวะเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในฐานะไม่มั่นคง และมีจำนวนพลเมืองน้อย กิจการจึงต้องระงับไว้
          ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุการณ์ทางด้านการเมือง สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณเหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิก พื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ.2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2430
       เมื่อได้สำรวจแนวทางต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าจุดแรกที่สมควรจะสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงของไทย ก่อนอื่น คือนครราชสีมา ดังนั้นในเดือนตุลาคม 2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการมีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก ( K. Bethge ) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟพร้อมกันนั้นได้ เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ ปรากฏว่า มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้คำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท

      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ก ระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 09 มีนาคม พ.ศ.2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์ สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ

ใน ปี พ.ศ.2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา สำเร็จบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้ดังนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระ ราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ - อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ในระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า ซึ่งการรถไฟฯ ได้ถือเอา
" วันที่ 26 มีนาคม " เป็น วันสถาปนากิจการรถไฟ สืบมาจนถึงปัจจุบัน
         ต่อจากนั้นก็ได้เปิดการเดินรถต่อไปอีกเป็นระยะ ๆ จากอยุธยา ถึง แก่งคอย มวกเหล็ก ปากช่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2443 การสร้างทางรถไฟสายนครราชาสีมา ได้เสร็จเรียบร้อย และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรง
เปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 รวมระยะทางจาก กรุงเทพ - นครราชสีมา ทั้งสิ้น 265 กิโลเมตร สิ้นเงินในการ ก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ 17,585,000 บาท  เมื่อการก่อสร้างทางรถไฟสายแรกสำเร็จลงตามพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงพิจารณาสร้างทางรถไฟสายอื่น ๆ ต่อไป จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระผู้พระราชทานกำเนิดกิจการรถไฟในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453

        ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแทนพระบรมราชชนก ก็ได้ทรง พิจารณาเห็นว่ากิจการของกรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้ ซึ่งแยกกันอยู่ไม่สะดวกแก่การบังคับบัญชาและบริหารงาน ตลอดจน ไม่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนั้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2460 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกิจการรถไฟทั้ง 2 กรม เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า " กรมรถไฟหลวง " กับได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ " กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน " ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก
       ในสมัยที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงอยู่นั้น ทรงเล็งเห็นการณ์ไกล และทรงตระหนักดีว่าการใช้รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถ นอกจากจะไม่สะดวกและประหยัดแล้ว ลูกไฟที่กระจัดกระจายออกมา ยังเป็นอันตรายได้ พระองค์จึงทรงสั่งรถจักรดีเซล จำนวน 2 คันมาจากสวิสเซอร์แลนด์ เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งรถจักรดีเซลไฟฟ้าคันแรก เลขที่ 21 ได้ออกวิ่งรับใช้ประชาชนเมื่อ พ.ศ.2471 ปัจจุบันรถจักรประวัติศาสตร์คันนี้ยังคงอยูการรถไฟฯ ได้นำมาติดตั้งที่ ตึกบัญชาการรถไฟ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ต่อไป และเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดรถจักรดีเซลขึ้นในเมืองไทย รถจักรดีเซลทุกคันที่ใช้การอยู่ในการรถไฟฯ ขณะนี้จึงได้ประดับเครื่องหมาย "บุรฉัตร" อันเป็นพระนาม ของพระองค์ ติดที่ด้านข้างของรถจักรดีเซลทุกคันที่สั่งเข้ามา เพื่อเป็นการรำลึกและเทิดพระเกียรติแห่งพระองค์ท่านสืบไป


         กิจการรถไฟซึ่งได้เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2439 จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของพระองค์ในปี พ.ศ.2453 มีทางรถไฟที่เปิดใช้เดินรถรวมทั้งสิ้น 932 กิโลเมตร และกำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จอีก 690 กิโลเมตร  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีทางรถไฟที่เปิดใช้ทั้งหมด 2,581 กิโลเมตร และอยู่ในระหว่าง ก่อสร้างอีก 497 กิโลิเมตรส่วนในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ทรงดำเนินรัฐประศาสโนบายในการบำรุงการคมนาคมเช่นเดียวกับรัชกาลก่อน ๆ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังปั่นป่วน ดังนั้น การก่อสร้างทางรถไฟสมัยนี้จึงเป็นไปได้อย่างล่าช้า โดยมีทางรถไฟเพิ่มขึ้นใหม่อีก 418 กิโลเมตร  กิจการรถไฟในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล รัชการที่ ก็เช่นเดียวกันกับรัชการก่อน ประเทศไทยต้องประสบกับสภาวะทางการเงิน และสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การก่อสร้างทางรถไฟไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร โดยมีทางรถไฟก่อสร้างเพิ่ม อีก 259 กิโลเมตรสำหรับกิจการรถไฟในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการรถไฟประสบภัยสงครามอย่างหนัก ทรัพย์สินทั้งทางอาคาร และรถจักรล้อเลื่อน ได้รับความเสียหายมาก จำต้องเริ่มบูรณะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ถ้าจะอาศัยเงินลงทุนจากงบประมาณของรัฐแหล่งเดียวจะไม่ทันการณ์ รัฐบาลจึงต้องขอกู้เงินจากธนาคาร โลกมาสมทบ ในระหว่างเจรจากู้เงินนั้น ธนาคารโลกได้เสนอให้รัฐปรับปรุงองค์กรของกรมรถไฟหลวงให้มีอิสระกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้ เกิดความคล่องตัวในการบริหารกิจการรถไฟในเชิงธุรกิจในปี พ.ศ.2494 รัฐบาลสมัย จอมพล.ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นสมควรจัดตั้งกิจการรถไฟเป็นเอกเทศจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ต่อรัฐสภา และได้มีพระบรมราชโองการให้ตราเป็นพระราช-บัญญัติขึ้นไว้ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2494 กรมรถไฟหลวงจึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปการภายใต้ชื่อว่า " การรถไฟแห่งประเทศไทย " ตั้งแต่วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นต้นมา โดยการดำเนินงานอยู่ภายใต้ พรบ.การรถไฟฯ ฉบับ พ.ศ.2494


                        
                      พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตั้งแต่วันที่ 01 ก.ค.2494 - 10 ก.ย.2502


         คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยขึ้นมีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการขององค์กาประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน คณะกรรมการ อีก 6 คน ผู้ว่าการรถไฟฯ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และรัฐได้มอบเงินจำนวน 30 ล้านบาท  ให้เป็นเงินสมทบทุนประเดิมของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย  ซึ่งมีพลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย  ตั้งแต่วันที่  01 กรกฎาคม พ.ศ.2494 ซึ่งในหลักการรัฐควบคุมการแต่งตั้งและปลดผู้บริหาร คุมอัตราเงินเดือนพนักงาน คุมอัตราค่าโดยสารและค่าระวาง คุมการเปิด-ปิดเส้นทางและการบริการ และการควบคุมการลงทุน ทั้งหมด แต่หากดำเนินงานขาดทุน รัฐชดเชยให้เท่าจำนวนที่ขาดจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง กรุงเทพ - รังสิต ระยะทาง31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วงรังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร โดยมีเส้นทาง ดังนี้.
      -  ทางสายเหนือ ถึง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 751 กิโลเมตร
      -  ทางสายใต้ ถึง จังหวัดนราธิวาส( สุไหลโก-ลก ) ระยะทาง 1,143 กิโลเมตร และสถานีปาดังเบซาร์ ระยะทาง 974 กิโลเมตร
      -  ทางสายตะวันออก ถึง จังหวัดสระแก้ว( อรัญประเทศ ) ระยะทาง 255 กิโลเมตร และนิคมอุตสาหกรรมมาบตะพุต ระยะทาง 200 กิโลเมตร
      -  ทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง จังหวัดอุบลราชธานี  ระยะทาง  575  กิโลเมตร  และจังหวัดหนองคาย  ระยะทาง 624 กิโลเมตรทางสายตะวันตก ถึง สถานีน้ำตก จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 194 กิโลเมตร
      -  ทางสายแม่กลองช่วงวงเวียนใหญ่ - มหาชัย ระยะทาง 31 กิโลเมตร และช่วงบ้านแหลม - แม่กลอง ระยะทาง 34 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ คลองสิบเก้า - บ้านภาชี - แก่งคอย - ศรีราชา - แหลมฉบัง - เขาชีจรรย์ - มาบตาพุด เพื่อให้รับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วย





























เส้นทางสายไหม, Silk Road



    เส้นทางสายไหม ( Silk Road ) เป็นเส้นทางโบราณที่ใช้เดินทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจีนกับทวีปยุโรป  เส้นทางสายไหมเกิดขึ้นมาร่วมหลายพันปีแล้วเป็นเส้นทางการค้าที่มีโครงข่ายโยงใยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติก่อกำเนิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ในสมัยราชวงศ์ฮั่น(206 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ.220) ในรัชสมัยของฮั่นอู่ตี้ แต่เราอาจเพิ่งมาคุ้นหูมากขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อนตอนที่ทางสถานีโทรทัศน์NHK ของญี่ปุ่นที่ถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับการเดินทางตามแนวเส้นทางสายไหมในสมัยโบราณ ทำให้เราได้รู้จักความเป็นไปเป็นมาของเส้นทางสายไหมมากขึ้น เส้นทางสายไหมเป็น ช่องทางสำคัญที่กระจายอารยธรรมโบราณของจีนไปสู่ตะวันตก และเป็นสะพานเชื่อมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตกด้วย เส้นทางสายนี้มีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชาวเอเซียเป็นอย่างมาก




คำว่าเส้นทางสายไหม ( Silk Road ) เกิดขึ้นได้อย่างไร


   คำว่า "เส้นทางสายไหม" หรือ "Silk Road" เพิ่งถูกเรียกอย่างเป็นทางการในกลางศตวรรษที่ 19 โดยนักปราชญ์ชาวเยอรมันชื่อว่า Baron Ferdinand von Richthofen เขาเป็นผู้บัญญัติชื่อนี้ขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับถึงแม้จะมีคนพยายามเรียกเป็นอย่างอื่นอย่างเส้นทางหยก เส้นทาอัญมณี เส้นทางพุทธศาสนา เป็นต้น เส้นทางนี้เริ่มจากทางตะวันออกที่เมืองฉางอันหรือซีอันในปัจจุบันของประเทศจีนไปสิ้นสุดที่ยุโรป ณ เมืองคอนสแตนติโนเปิล(Constantinople) สินค้าที่มีชื่อเสียง คือ ผ้าไหมจีน, แก้ว, เพชรพลอย, เครื่องเคลือบดินเผา, พรม เป็นต้น แต่เส้นทางนี้ก็ได้ถูกเลิกใช้ไปเพราะเกิดสงครามเส้นทางสายไหมคือเส้นทางจากที่ใดไปที่ใดเส้นทางสายไหมที่ผู้คนกล่าวถึงบ่อยๆ นั้น หมายถึง เส้นทางบกที่จางเชียนในสมัยซีฮั่นของจีนสร้างขึ้นเส้นทางนี้เริ่มจากทางตะวันออกที่เมืองฉางอันหรือซีอันในปัจจุบันของประเทศจีนไปสิ้นสุดที่ทางทิศตะวันตกของกรุงโรมระยะทางทั้งหมดถึง 7,000 กิโลเมตร  และ เส้นทางกว่า 5,000  กิโลเมตร ในจำนวนดังกล่าวนั้นอยู่ในดินแดนของประเทศจีน ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าเส้นทางสายไหมเส้นทางหลักๆ นั้นจะอยู่ในประเทศจีน
เส้นทางบกสายนี้มีเส้นทางแยกสาขาเป็นสองสายไปทางทิศใต้และทางทิศเหนือของจีนและจากเมือหลักของแต่ละเส้นทางจะมีเส้นทางแยกย่อยออกไปเหมือนเครือข่ายใยแมงมุมซึ่งมีการแปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง, วัฒนธรรมในแต่ละยุคเส้นทางทิศใต้จากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกทางด่านหยางกวนผ่านภูเขาคุนหลุนและเทือกเขาชงหลิ่นไปถึงต้าเย่ซื่อ( แถวซินเจียงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) อันซิ( อิหร่านในปัจจุบัน) เถียวซื่อ( คาบสมุทรอาหรับปัจจุบัน) ซี่งอยู่ทางตะวันตกไปถึงอาณาจักรโรมันส่วนเส้นทางทิศเหนือจากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกด่านอวี้เหมินกวนผ่านเทือกเขาด้านใต้ของภูเขาเทียนซานและเทือกเขาชงหลิ่นผ่านต้าหว่าน คางจวี( อยู่ในเขตเอเซียกลางของรัสเซีย) แล้วไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดท้ายรวมกันกับเส้นทางทิศใต้ เส้นทางสองสายนี้เรียกว่า“เส้นทางสายไหมทางบก”


      นอกจากนี้ยังมีเส้นทางสายไหมอีกสองสายซึ่งน้อยคนจะทราบ สายหนึ่ง คือ “เส้นทางสายไหมทิศตะวันตกเฉียงใต้” เริ่มจากมณฑลเสฉวนผ่านมณฑลยูนนานและแม่น้ำอิรวดีจนถึงจังหวัดหม่องกงในภาคเหนือของพม่า ผ่านแม่น้ำชินด์วินไปถึงมอพาร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย จากนั้นเลียบแม่น้ำคงคาไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียไปถึงที่ราบสูงอิหร่าน เส้นทางสายไหม สายนี้มีประวัติยาวนานกว่าเส้นทางสายไหมทางบก เมื่อปี1986 นักโบราณคดีได้พบซากอารยธรรมซานซิงตุยที่เมืองกว่างฮั่นมณฑลเสฉวน ซึ่งห่างจากปัจจุบันประมาณสามพันกว่าปีได้ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเอเซียตะวันตกและกรีซ ในจำนวนนั้นมีไม้เท้าทองที่ยาว 142เซ็นติเมตร “ต้นไม้วิเศษ” ที่สูงประมาณสี่เมตรและรูปปั้นคนทองแดง หัวทองแดงและหน้ากากทองแดงเป็นต้นที่มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กต่าง ๆกัน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้อาจจะถูกนำเข้ามาในการแลกเปลี่ยนทาง วัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ถ้าความคิดเห็นประการนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เส้นทางสายไหม สายนี้ก็มีอยู่แล้วตั้งแต่กว่าสามพันปีก่อนเส้นทางสายไหม อีกสายหนึ่ง คือ นั่งเรือจากนครกวางเจาผ่านช่องแคบหม่านล่าเจีย ( ช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน) ไปถึงลังกา ( ศรีลังกาในปัจจุบัน) อินเดียและอัฟริกาตะวันออก เส้นทางนี้ได้ชื่อว่า“เส้นทางสายไหม ทางทะเล” วัตถุโบราณจากโซมาลีที่อัฟริกาตะวันออกยืนยันว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล” สายนี้ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีน เส้นทางสายไหม ทางทะเล ได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก” เอกสารด้านประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยนั้นมาร์โคโปโลก็ได้เดินทางมาถึงจีนโดยผ่าน “เส้นทางสายไหมทาง ทะเล” ตอนกลับประเทศ เขาได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยผ่านเส้นทางสายนี้เหมือนกันการเปิดใช้เส้นทางสายไหมไม่ เพียงแต่ทำให้เขตซินเจียงที่มีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล มีทางเชื่อมติดต่อกับเขตแดนชั้นในของจีนเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกทางหนึ่ง ในการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างเขตแดนชั้นในของจีนกับซินเจียง โดยเฉพาะกับเอเซียกลางและเอเซียตะวันตกด้วย ดังนั้น จึงมีการค้นพบโบราณวัตถุมีคุณค่าจำนวนมากปรากฏตามเส้นทางสายไหมนี้ เช่น เมืองโบราณ สุสานในสมัยโบราณ กำแพงเมืองจีนเก่าแก่ วัดวาอารามและถ้ำผา เป็นต้น ดังนั้นเส้นทางสายไหมจึงได้แสดงบทบาทอันสำคัญยิ่งในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ เส้นทางสายไหมจึงเป็นแหล่งขุมทรัพย์ความรู้ทางโบราณคดีที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนในยุคหลัง
     ปัจจุบันเส้นทางสายไหมแห่งนี้นอกจากจะเป็นแหล่งความรู้ทางโบราณคดีและมนุษยวิทยาแล้วยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจีนอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของเส้นทางสายไหม


ประวัติความเป็นมาของเส้นทางสายไหม
  เส้นทางสายไหมเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น ในรัชสมัยของฮั่นอู่ตี้ ในสมัยนั้นอาณาจักรฮั่นถูกพวกชนเผ่าเร่ร่อนที่มีชื่อว่า"ซงนู๋" รุกรานอยู่บ่อย  ๆฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้จึงส่งขุนนางผู้มีชื่อว่า"จางเชียน" ไปเจริญสัมพันธ์กับแคว้นต่างๆทางตะวันตกเพื่อชักชวนให้แคว้นเหล่านั้นหันมาเป็นพันธมิตรต่อต้านการรุกรานของพวกซงนู๋ด้วยกัน แต่ระหว่างเดินทางนั้น จางเชียนถูกพวกซงนู๋จับตัวและถูกกักขังไว้เป็นเวลาร่วมสิบปี แต่สุดท้ายจางเชียนก็สามารถหลบหนีออกมาได้ ซึ่งเขาก็ไม่ลืมภาระที่ได้รับมอบหมายและมุ่งหน้าสู่เอเชียกลาง แต่ขณะนั้นบรรดาแคว้นต่างๆ ล้วนพอใจกับสถานะที่เป็นอยู่ไม่มีใครยอมร่วมเป็นพันธมิตร เท่ากับว่าจางเชียนคว้าน้ำเหลวอย่างสิ้นเชิงในภารกิจที่ได้รับมอบหมายแต่เขา ก็สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส จางเชียนจดบันทึกข้อมูลทั้งหลายตลอดเส้นทางเกี่ยวกับทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิตการค้าการขายต่าง ๆ ถวายแด่ฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้ เพื่อแปลงสนามรบเป็นสนามการค้า


        หลังจากนั้นอาณาจักรฮั่นก็ส่งสินค้าไปค้าขายกับทางตะวันตกสินค้าที่ขึ้นชื่อในยุคนั้น คือ ผ้าไหม ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของพวกชาวเปอร์เซียและโรมัน แต่การค้าผ้าไหมในยุคของฮั่นอู่ตี้ก็ไม่ได้ทำกำไรอะไรมากมายนักจนเมื่อพวกชาวโรมันเกิดพิสมัยผ้าไหมอย่างมาก( สังเกตได้จากรูปปั้นผู้หญิงของโรมันจะนุ่งผ้าไหมที่พลิ้วสวย) ถึงกับนำเอาทองคำมาแลกกับผ้าไหมเลยทีเดียว ดังนั้นในเวลาต่อมาการค้าบนเส้นทางสายไหมนี้จึงประกอบด้วยผ้าไหมถึง 30 เปอร์เซ็นเลยทีเดียวเส้นทางสายไหมโบราณเส้นนี้รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด ในกลางศตวรรษที่8 แห่งคริสตกาล  เส้นทางนี้เปรียบเสมือน ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศในยุคนั้นเลยทีเดียวการแลกเปลี่ยนข่าวสารวัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ เช่น เทคโนโลยีในการผลิตกระดาษ, ดินระเบิด, เข็มทิศ รวมถึงลูกคิดซึ่งกลายเป็นต้นแบบของการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีของจีนที่ถูกถ่ายทอดไปสู่ตะวันตก ในยุคนั้นผ่านทาง เส้นทางสายไหมขณะเดียวกันศาสนาพุทธจากอินเดียก็อาศัยเส้นทางสายไหมนี้เขาสู่เอเชีย ทั้งจีน เกาหลี พม่า ลาว เวียตนาม กัมพูชา  และไทย เช่นเดียวกันชาวเปอร์เซียที่นำเอาศาสนาอิสลามเข้ามาตอนหลังเส้นทางทางบกถูกเลิกใช้ไปเพราะเกิดสงคราม เหล่าคาราวานจึงพยายามเลี่ยงเส้นทางนี้ เส้นทางทางบกจึงถึงจุดเสื่อมสลายในที่สุด เส้นทางการค้าทางทะเล กลับเพิ่มมากขึ้นแทน ชาวเปอร์เซียซึ่งมาทางเรือก็นำเอาศาสนาอิสลามสู่ประเทศต่างๆ ที่แวะผ่าน เช่น แหลมมาลายู อินโดนีเซียและบางส่วนของฟิลิปินส์

โลจิสติกส์



โลจิสติกส์


        


           มีการพูดถึงกันมาก ถึงคำว่า "ระบบโลจิสติกส์" เรามาทำความรู้จักกับระบบโลจิสติกส์กันดีกว่า ระบบโลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมมากมายหลายด้าน ดังนั้นหากเข้าใจว่า โลจิสติกส์ ก็คือ การขนส่งนั้น ต้องบอกว่า เป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน (ถูกเป็นบางส่วน) เนื่องจากงานด้านโลจิสติกส์ครอบคลุมกว้างขวางโดยมีทั่ง… งานด้านการจัดซื้องานคลังสินค้างานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯโลจิสติกส์ไม่ใช่เรื่องการขนส่งอย่างเดียวแต่การขนส่งเป็นเพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของกิจกรรมในระบบโลจิสติกส์ ซึ่งมีขอบเขตของกิจกรรมตั่งแต่การจัดซื้อจัดหาการผลิตการจัดเก็บ สินค้าคงคลังการขนส่งรวมไปถึงการกำจัดของเสีย และเทคโนโลยีสารสนเทศ "การบริหารโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงาน และการประสานงาน การดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่าต้วยต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ"












ที่มาของคำ
       
         คำว่า โลจิสติกส์ (logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่าโลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บโดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหารในการส่งกำลังบำรุงทั้งเสบียง อาวุธ กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบหรือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายจัดเก็บจากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสารสินค้าสำเร็จรูปวัตถุดิบและอื่น ๆ



1. แล้วโลจิสติกส์สำคัญอย่างไร
สหรัฐอเมริกา ประเทศยักษ์ใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมืองอาจจะกล่าวได้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกดูจากการเปลี่ยนแปลงของอเมริกาก็ว่าได้สหรัฐอเริกามีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่องและมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากแต่ส่วนใหญ่เป็นการขับเคลื่อนโดยภาคธุรกิจเป็นหลัก เนื่องจากมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในการลดต้นทุนโดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีการสร้างความร่วมมือกันในโซ่อุปทานโดยใช้การบริหารนอกจากนี้ภาคธุรกิจยังมีความตื่นตัวในการจัดระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริง และที่ผ่านมาภาครัฐได้ออกกฎหมายควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี จากการพัฒนาดังกล่าว ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนือง (จากประมาณร้อยละ 16 ของ GDP ในปี 1981 ลงมาเหลือร้อยละ 9.5 ในปี 2001) และจากการลดต้นทุนดังกล่าวทำให้เกิดทฤษฎี
• ประมาณว่าในระดับธุรกิจนั้น พบว่าหากบริษัทสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ร้อยละ 1 แล้วจะสามารถทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 และหากประเทศหนึ่งๆ สามารถลดต้นทุนการขนส่งร้อยละ 10 แล้วจะสามารถเพิ่มการค้ารวม (ภายในและส่งออก) ได้ถึง ร้อยละ 20
• สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียบางประเทศนั้นจะสามารถเพิ่มมูลค่า GDP ได้ถึงร้อยละ 1.5-2.0 หากประเทศนั้น สามารถ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึงร้อยละ 15-20 ความหมายของ Logisticsการจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่สุด โลจิสติกส์เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและไปสิ้นสุด ณ จุดที่มีการบริโภคสินค้านั้น หรือในอีกความหมายหนึ่งโลจิสติกส์เป็นกระบวนการในการจัดการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้ายและไม่มีการเคลื่อนย้ายในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภคโลจิสติกส์ ประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน กิจกรรมหลักในกระบวนการไหลของสินค้าตามแนวคิดของโลจิสติกส์ คือ กิจกรรมที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อต้นทุนและการให้บริการของสินค้ามากที่สุด ประกอบด้วย



กิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมด้วยกัน คือ



- การขนส่ง
- การสินค้าคงคลัง
- กระบวนการสั่งซื้อ









กิจกรรมสนับสนุน ในกระบวนการไหลของสินค้าตามแนวคิดของโลจิสติกส์ คือ กิจกรรมที่มีส่วนในกระบวนการกระจายสินค้า และเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้งานของกิจกรรมหลักดำเนินไปได้สะดวก ได้แก่
- การจัดการด้านโกดัง
- การยกขนการหีบห่อ
- การจัดซื้อจัดหา
- การจัดตารางผลิตภัณฑ์
- การจัดการด้านข้อมูล